จำนวนผู้เข้าชม

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติถ้วยบอลโลก


ประวัติถ้วยบอลโลก
ตำนานโทรฟี่ฟุตบอลโลก จาก 'จูลส์ ริเมต์' ถึง 'ฟีฟ่าเวิลด์คัพ' ความเป็นมาของถ้วยฟุตบอลโลกที่นับเป็นแรงบันดาลใจให้นักเตะทีมต่างๆต่อสู้เพื่อพิสูจน์ฝีมือและศักดิ์ศรีของประเทศนั้นมีด้วยกันสองรุ่น โดยรุ่นล่าสุดนี้เป็นถ้วยรางวัลที่มีน้ำหนักถึง 4,970 กรัม ทำด้วยทองแท้ 18 กะรัต สูง 36 เซนติเมตร เรียกว่าถ้วยฟีฟ่าเวิลด์คัพ ความเป็นมาของถ้วยฟุตบอลโลกที่นับเป็นแรงบันดาลใจให้นักเตะทีมต่างๆต่อสู้เพื่อพิสูจน์ฝีมือและศักดิ์ศรีของประเทศนั้นมีด้วยกันสองรุ่น โดยรุ่นล่าสุดนี้เป็นถ้วยรางวัลที่มีน้ำหนักถึง 4,970 กรัม ทำด้วยทองแท้ 18 กะรัต สูง 36 เซนติเมตร เรียกว่าถ้วยฟีฟ่าเวิลด์คัพ (FIFA World Cup Trophy) ออกแบบโดยประติมากรรมชาวอิตาเลียน ซิลวิโอ กาซซานิก้า ในปีค.ศ.1971 โดยเส้นของรูปปั้นบิดขึ้นมาจากฐานเป็นรูปนักกีฬาสองคนยืนหันหลังยกโลก ดูมีพลังเคลื่อนไหวในตัวเพื่อเป็นจังหวะแห่งการฉลองชัยชนะ ถ้วยเวิลด์คัพใบนี้เริ่มใช้ครั้งแรกในการแข่งขันปีค.ศ.1974 ที่ประเทศเยอรมนีเป็นเจ้าภาพ และเยอรมนีก็คว้าถ้วยใบนี้สำเร็จครอบครองไว้นาน 4 ปี จากนั้นจึงลงไปอยู่อเมริกาใต้ แล้วกลับขึ้นมายุโรป สลับกัน 2 ทวีป อย่างนี้ในทุก 4 ปี เพราะประเทศที่ได้แชมป์จากเยอรมนีก็คือ อาร์เจนตินา (1978) อิตาลี (1982) เยอรมนี (1990) แล้วก็ล่าสุดคือบราซิล (1994) แต่ถ้วยฟีฟ่าไม่ได้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง เพราะฟีฟ่า หรือสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ถือว่าถ้วยนี้จะต้องอยู่ถาวรกับฟีฟ่า ผู้ชนะจะได้รับถ้วยจำลองที่ทำจากทองผสม ส่วนที่ฐานซึ่งมีแหวนคาดสองเส้น มีพื้นที่ไว้สลักชื่อผู้ชนะ 17 ช่อง ซึ่งเมื่อถึงปีค.ศ.2038 ชื่อก็จะเต็มช่องเหล่านี้ จากนั้นจะทำอย่างไรต่อไป ฟีฟ่าก็คงต้องปรึกษากัน สำหรับถ้วยเดิมชื่อถ้วยจูลส์ ริเมต์ ซึ่งเป็นชื่อของประธานฟีฟ่าชาวฝรั่งเศสที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกสำเร็จในปีค.ศ.1930 ถ้วยแรกทำจากเงินและทองหนัก 3.8 กิโลกรัม สูง 38 เซนติเมตร ฐานทำด้วยหินล้ำค่าสีฟ้า หรือไพฑูรย์ (Lapislazule) เป็นรูปเทพธิดาแห่งชัยชนะ (Goddess of Victory) ตรงเหลี่ยม 4 ด้านของฐาน สลักชื่อประเทศที่ได้แชมป์ที่ 9 ราย ชื่อนับตั้งแต่ปี 1930-1970 ถ้วยจูลส์ ริเมต์ หายไปถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกในปีค.ศ.1966 ช่วงที่อังกฤษได้แชมป์ มีคนมาพบว่าถูกฝังอยู่ที่ต้นไม้ต้นหนึ่ง โดยฝีมือการดมหาของเจ้าสุนัขตัวเล็กชื่อพิกเกิ้ลส์ แต่ถ้วยมาหายจริงๆในปีค.ศ.1983 ช่วงบราซิลได้สิทธิ์ครอบครองถ้วยนี้อย่างถาวร หลังจากคว้าแชมป์ 3 สมัยได้สำเร็จ โดยขโมยมือดีฉกจากที่เก็บในนครริโอ เดอจาเนโร

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติดอกกุหลาบ

ประวัติดอกกุหลาบ

กุหลาบ มาจากคำว่า " คุล " ในภาษาเปอร์เชีย แปลว่า " สีแดง ดอกไม้ หรือดอกกุหลาบ " เข้าใจว่าจากเปอร์เซียได้แพร่เข้าไปในอินเดีย เพราะในภาษาฮินเดียมีคำว่า " คุล " แปลว่า " ดอกไม้ " และคำว่า " คุลาพ " หมายถึงกุหลาบอย่างที่ไทยเราเรียกกัน แต่ออกเสียงเป็น " กุหลาบ " ส่วนคำว่า "Rose" มาจากคำว่า "Rhodon" ที่แปลว่ากุหลาบในภาษากรีก ดังนั้นกุหลาบพันปีหรือกุหลาบป่าไทยก็คือต้น Rhodo นั่นเอง
กุหลาบเป็นไม้ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก อาจเป็นเพราะเป็นดอกไม้ที่มีสีสวย ไม่ใช่แค่สีเดียวในหนึ่ง บางดอกให้เฉดสีสวยงามอย่างยากที่ศิลปินใดจะวาดเลียนแบบได้ ส่วนกลิ่นหอมที่แตกต่างแต่ละสายพันธุ์ก็มีเสน่ห์ดึงดูดใจและยังสามารถ
บังคับให้ออกดอกได้ตามจังหวะเวลาที่ต้องการตามเทศกาลที่สำคัญๆอย่างง่ายมาก
กุหลาบถูกนำไปเป็นสัญญลักษณ์ของสิ่งต่างๆมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของความรัก มีกุหลาบชื่อภาษฮังกฤษว่า My Valentine นำเข้ามาปลูกในบ้านเรานานแล้ว เป็นกุหลาบลูกผสมระหว่าง Little chief กับ Little Curt นำออกมาเผยแพร่ครั้งแรกตั้งแต่ปีพ . ศ .2518 กุหลาบพันธุ์นี้ออกเป็นช่อหลายดอกในกิ่งเดียว มีสีแดงอมส้มสดกลิ่นหอมอ่อนมากจนอาจไม่ได้กลิ่น ใบมีสีเขียวเข้มตัดกับสีดอก นิยม
ปลูกเป็นไม้กระถางไม่นิยมตัดดอกขาย นอกจากการให้กุหลาบในวันวาเลนไทน์แล้ว การให้กุหลาบสีอะไร เสมือนระบุความหมายเป็นนัยๆอีกด้วยเช่นถ้าสีแดงหมายถึงสีที่แสดงถึงความรัก ส่วนจำนวนดอกที่ให้ก็แสดงความรักเช่นกัน กฏเกณฑ์พวกนี้ไม่รู้ว่าใครเป็นคนตั้งคนเริ่ม แต่สรุปว่าให้หนึ่งดอกนั้นคือรักแรกพบ สามดอกแค่รักคุณ สำหรับ 999 ดอกรักคุณจนความตายมาพรากเราจากกัน

การเพาะพันธุ์ปลาทอง


14 มิถุนายน 2553
การเพาะพันธุ์ปลาทอง30/7/2545 9:54:11, by กาญจนรี พงษ์ฉวี

ปลาทอง (goldfish) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Garassius auratus (Linn.) มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และได้มีการนำเข้ามาเพาะขยายพันธุ์ในประเทศไทยจนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย มีการคัดพันธุ์เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่มีลักษณะและสีสันแปลกออกไป พันธุ์ปลาทองที่ได้รับความนิยมในตลาดปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์หัวสิงห์ (Lion head) ออแรนดา (Oranda) เกล็ดแก้ว (Pearl scale) ตาโปน (Telescope eye) ริวกิ้น (Ryukin) ตาลูกโป่ง (Bubble eye) ชูบุงกิ้น (Shubunkin) เป็นต้นการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาทอง
บ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์
การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาทองสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อซีเมนต์ บ่อดิน ถังไฟเบอร์ ตู้กระจก ฯลฯ ทำเลที่เหมาะสมในการสร้างบ่อพ่อแม่พันธุ์ปลาทอง คือ บริเวณที่แสงแดดส่องได้บ้างในเวลาเช้าหรือเย็น หากเป็นที่โล่งแจ้งต้องทำหลังคาหรือร่มเงาให้แสงส่องลงได้เพียง 25-40 % บ่อที่ได้รับแสงแดดที่พอเหมาะจะทำให้สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของตะไคร่น้ำและแพลงก์ตอนพืช (Phytoplankton) ให้อยู่ในปริมาณที่พอดี ทำให้น้ำในบ่อใสสะอาดอยู่เสมอเหมาะกับความเป็นอยู่ของปลา พื้นที่บ่อไม่จำกัดใส่น้ำลึก 30-70 เซนติเมตร ขึ้นกับชนิดปลา ถ้าเป็นปลาทองสายพันธุ์หัวสิงห์ ก็จะใส่น้ำตื้น ส่วนพันธุ์ออรันดาสามารถใส่น้ำลึกได้ให้อากาศผ่านหัวทรายตลอดเวลา บ่อขนาด 4 ตารางเมตร น้ำลึก 70 เซนติเมตร ใส่หัวทรายให้อากาศแรง ๆ 2-3 หัว ปล่อยพ่อแม่ปลาในอัตราส่วน เพศผู้ : เพศเมีย เท่ากับ 2 : 3 ความหนาแน่น 6 ตัว/ตารางเมตร หรือปริมาตรน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร ปล่อยพ่อแม่พันธุ์น้ำหนักรวม 2-2.5 กิโลกรัม
อาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์
อาหารธรรมชาติ ได้แก่ ลูกน้ำ หนอนแดง ไส้เดือนแดง หรืออาร์ทีเมีย อาหารมีชีวิตเหล่านี้จะทำให้ปลาโตเร็ว และปลากินได้ตลอดเวลา แต่การจัดเตรียมหรือจัดหาอาจมีความยุ่งยากในบางพื้นที่อาหารสำเร็จรูป ได้แก่ อาหารเม็ดปลากินพืชหรืออาหารเม็ดปลาดุกเล็ก โดยอาหารเม็ดปลาดุกเล็กจะดีกว่า เนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่า สามารถเลี้ยงปลาได้เจริญเติบโตดี และมีสีสันสวยงาม การให้อาหารจะให้วันละ 2-3 % ของน้ำหนักปลา เช่น มีปลาทั้งหมดหนัก 500 กรัม จะให้อาหารเม็ดวันละ 10-15 กรัม โดยแบ่งให้วันละ 2 มื้อ เช้า - เย็นคุณสมบัติของน้ำที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาทอง ควรเป็นน้ำสะอาด ใช้น้ำบาดาลน้ำจากแม่น้ำ หรือน้ำประปาที่ใส่ถังเปิดฝาให้คลอรีนระเหยออกอย่างน้อย 3 วัน มีความเป็นกรด-ด่าง (pH) 6.5-7.5 มีปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำไม่ต่ำกว่า 5 มิลลิกรัม/ลิตร จึงจำเป็นต้องมีระบบเพิ่มออกซิเจนในบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาตลอดเวลา ความกระด้าง (Hardness) 75-100 มิลลิกรัม/ลิตร และความเป็นด่าง (Alkalinty) 75-200 มิลลิกรัม/ลิตร ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำไม่ต่ำกว่า 3 มิลลิกรัม/ลิตร มีการดูดตะกอนก้นบ่อออกทุก ๆ 3 วัน แล้วเติมน้ำให้ได้ระดับเดิม การเลี้ยงปลาทองไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อย เพราะจะทำให้ปลาช้ำและเกิดโรคง่าย จะเปลี่ยน 3 เดือนต่อครั้ง ในปริมาณ 25-50 % ของน้ำทั้งหมด และหากน้ำในบ่อมีคุณภาพไม่ดี ก็ให้ทำการล้างบ่อ นำน้ำเก่าจากบ่ออื่นมาเติมปริมาณ 30 % และใส่น้ำใหม่เพิ่มไปอีก 70 % การไม่เปลี่ยนน้ำนาน ๆ แล้วเปลี่ยนจะเป็นการกระตุ้นให้ปลาวางไข่เป็นอย่างดี
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาทอง
ปลาทองจะเจริญพัฒนาจนกระทั่งมีความสมบูรณ์เพศเมื่อมีอายุประมาณ 6 เดือน น้ำหนัก 30 กรัม ก็สามารถใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ได้แล้ว แต่แม่ปลาขนาดเล็กจะให้ไข่น้อย และไข่มีขนาดเล็ก การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ควรตรวจสอบลักษณะรูปร่างให้มีลักษณะตรงตามสายพันธุ์ สมบูรณ์แข็งแรง มีครีบตั้งแข็งไม่ฉีกขาด มีเกล็ดเป็นเงางาม และตรวจสอบความสมบูรณ์เพศ ดังนี้ ปลาเพศผู้ ในฤดูผสมพันธุ์ บริเวณแผ่นปิดเหงือก (operculum) และด้านหน้าของครีบหูจะมีตุ่มเล็ก ๆ คล้ายเม็ดสิวเรียกว่า pearl organ เกิดขึ้น เวลาสัมผัสจะรู้สึกสากมือ ปลาเพศเมีย มีรูปร่างกลมและป้อมกว่าเพศผู้ ปลาเพศเมียที่มีไข่แก่เต็มที่พร้อมจะผสมพันธุ์นั้น ส่วนท้องจะอูมใหญ่ และอ่อนนิ่ม บริเวณก้นจะบวมและมีสีแดงเรื่อ ๆ แม่ปลาที่ใช้ไม่ควรมีอายุเกิน 1 ? ปี เนื่องจากแม่ปลาที่มีอายุมากเกินไปจะไม่วางไข่
การเพาะพันธุ์ปลาทอง
การเพาะพันธุ์ปลาทองที่ง่ายและประหยัด คือ การใช้วิธีเลียนแบบธรรมชาติ โดยการปล่อยให้พ่อแม่ปลารัดกันเองในบ่อผสมพันธุ์ ซึ่งมีขั้นตอนการเพาะพันธุ์ ดังนี้การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์ บ่อเพาะพันธุ์ปลาทอง ได้แก่ บ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์นั่นเอง ปลาทองเป็นปลาตระกูลเดียวกับปลาไน ลักษณะไข่จะเป็นแบบเดียวกัน คือเป็นไข่ติด ไข่ปลาทองมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร เนื่องจากเป็นไข่ติดจึงต้องเตรียมวัสดุยึดเกาะ วัสดุดังกล่าวเรียกว่า รังเทียม ได้แก่ การนำพันธุ์ไม้น้ำ เช่นสาหร่ายฉัตร สาหร่ายหางกระรอก มามัดรวมกันเป็นกำ กำละ 10-15 ต้น หรือผักตบชวาที่มีรากยาว นำไปใส่ไว้ในบ่อเพาะพันธุ์ให้กระจายทั่วผิวน้ำ นอกจากนี้อาจใช้เชือกฟางซึ่งตัดให้ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ฉีกให้เป็นฝอยมัดตรงกลางจะได้รังเทียม นำไปใส่ไว้ในบ่อเพาะพันธุ์ให้กระจายทั่วผิวน้ำ วิธีนี้มีข้อดีคือ สามารถนำรังเทียมที่ทำด้วยเชือกฟางกลับมาใช้ได้หลาย ๆ ครั้ง การใส่รังเทียมลงไปในบ่อเพาะจะเป็นการกระตุ้นให้แม่ปลาวางไข่ นอกจากนี้ในบ่อเพาะพันธุ์ต้องมีการเพิ่มออกซิเจนตลอดเวลา เมื่อใส่รังเทียมไปในตอนเย็นปลาจะวางไข่ในตอนเช้ามืดของอีกวัน โดยปลาตัวผู้จะเริ่มไล่ปลาตัวเมียและใช้หัวดุนที่ท้องปลาตัวเมียเพื่อกระตุ้นให้วางไข่ ปลาตัวเมียจะปล่อยไข่เป็นระยะ ๆ ในเวลาเดียวกันนั้นปลาตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมแล้วไข่กระจายติดกับรังเทียม แม่ปลาจะวางไข่ครั้งละประมาณ 500-1,000 ฟอง วิธีการตรวจสอบอย่างง่าย ๆ ก็คือ หลังจากใส่รังเทียมในตอนเย็น จะสามารถตรวจสอบการวางไข่ในตอนเช้า หากพบว่ามีการวางไข่จึงเก็บรังเทียมไปฟักในถังฟักไข่ ปลาทองสามารถวางไข่ได้ทั้งปี ดังนั้นจึงควรใส่รังเทียมลงไปทุกอาทิตย์ นอกจากนี้แม่ปลาทองจะวางไข่มากในช่วงฤดูหนาว ซึ่งปลามีการผสมพันธุ์วางไข่ได้ทั้งวันในช่วงนี้ จึงต้องนำรังเทียมไปเติมในบ่อและเก็บไข่ไปฟักเป็นระยะ
การฟักไข่
นำรังเทียมที่มีไข่เกาะติดไปฟักในถังฟักไข่ ซึ่งอาจใช้บ่อซีเมนต์ ถังไฟเบอร์ โอ่ง หรือกะละมังพลาสติกก็ได้ ถ้าใช้ถังไฟเบอร์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร ใส่น้ำลึก 50-60 เซนติเมตร จะใช้ฟักไข่ได้ประมาณ 100,000 ฟอง ให้อากาศตลอดเวลา ไข่ปลาทองจะฟักออกมาเป็นตัวภายใน 2-4 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิน้ำ ลูกปลาแรกฟักมีขนาดเล็กมาก ตัวใส เกาะติดกับรังไข่หลังจากฟักเป็นตัวแล้วประมาณ 2-3 วัน ลูกปลาจึงจะว่ายออกจากรังไข่ และว่ายน้ำเป็นอิสระ ลักษณะตัวมีสีเข้มขึ้น จะนำรังเทียมออกจากบ่อในระยะนี้แล้วอนุบาลในบ่อเดิมต่อไป หรืออาจย้ายลูกปลาไปอนุบาลในบ่อใหม่ก็ได้
การอนุบาลลูกปลาทอง
ลูกปลาทองที่ฟักออกเป็นตัวระยะแรก จะยังไม่กินอาหาร เนื่องจากยังใช้อาหารจากถุงไข่แดงที่ติดอยู่กับหน้าท้องได้ เมื่อลูกปลาอายุ 3 วัน ถุงไข่แดงจะยุบ จึงเริ่มกินอาหาร อาหารในระยะแรกคือ ไข่แดงต้มสุกบดละเอียด ละลายน้ำสาดให้กินวันละ 3-4 ครั้ง ลูกปลา 100,000 ตัว ให้ไข่ประมาณวันละ 1 ฟอง เมื่อลูกปลาอายุ 1 สัปดาห์ ควรเสริมไรแดงให้ลูกปลากิน ลูกปลาจึงจะเจริญเติบโตได้รวดเร็ว และแข็งแรงสมบูรณ์ หรือให้ไรแดงตั้งแต่วันที่ 3 เลยก็ได้ เมื่อลูกปลาอายุ 1 เดือน จึงทำการคัดขนาดและย้ายบ่อ โดยคัดปลาที่มีขนาดใกล้เคียงกันไปอยู่ในบ่อใหม่และให้อาหารเม็ดปลาดุกเล็ก หรืออาหารมีชีวิต ได้แก่ ลูกน้ำ หนอนแดง เป็นต้น เมื่อลูกปลาทองมีอายุประมาณ 1.5-2.5 เดือน จะเริ่มเปลี่ยนสี ช่วงนี้ทำให้การคัดปลาที่มีลักษณะสวยงามถูกต้องตามสายพันธุ์เพื่อเลี้ยงไว้ต่อไป ส่วนปลาที่เหลือจะนำไปเลี้ยงรวมกันอีกบ่อ เป็นปลาทองที่จำหน่ายในราคาที่ถูกกว่า สำหรับปลาที่พิการและถูกคัดทิ้งจะนำไปจำหน่ายเป็นปลาเหยื่อ

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

อำเภอเมืองภูเก็ต
เขารัง
สะพานหิน
หมู่บ้านชาวเล
ตึกสมัยเก่า



วัดฉลอง



อ่าวฉลอง



เกาะสิเหร่
หาดแหลมกา
เกาะแก้ว
หาดราไวย์



แหลมพรหมเทพ



หาดในหาน



อ่าวเสน
หาดกะตะ



หาดกะรน



สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ

สวนผีเสื้อและ อควาเรียมภูเก็ต
หมู่บ้านไทยและ สวนกล้วยไม้ภูเก็ต
ฟาร์มชนะเจริญ
อำเภอกระทู้
หาดป่าตอง



หาดกะหลิม



หาดกมลา



ภูเก็ตแฟนตาซี



น้ำตกกระทู้

อำเภอถลาง
อนุสาวรีย์วีรสตรี



พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง



วัดพระทอง (วัดพระผุด)



วัดพระนางสร้าง



อุทยานสัตว์ป่าเขาพระแทว



หาดสุรินทร์



แหลมสิงห์



หาดบางเทา



อุทยานแห่งชาติสิรินาถ (หาดในยาง)



เกาะราชาใหญ่



เกาะไม้ท่อน



เกาะเฮ



เกาะโหลน
เกาะยาว



หาดในทอน

วันแม่แห่งชาติ

วันแม่แห่งชาติ ทุกวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี
วันแม่แห่งชาติ หรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า "วันแม่" ทุกคนรับทราบและซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถคือ วันที่ 12 สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่ของชาติด้วย
แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน วันแม่แห่งชาติ เป็นวันที่ทางราชการกำหนดในวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี และถือว่าเป็นวันสำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย โดยกำหนดให้ถือว่า "ดอกมะลิ" สีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์ของความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่เรา
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ
ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ
จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่

วันแม่ในประเทศต่าง ๆ
อาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ นอร์เวย์
8 มีนาคม บัลแกเรีย, แอลเบเนีย
อาทิตย์ที่สี่ในฤดูถือบวชเล็นท์ (มาเทอริง ซันเ ดย์) สหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์
21 มีนาคม (วันแรกของฤดูใบไม้ผลิ) จอร์แดน, ซีเรีย, เลบานอน, อียิปต์
อาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคม โปรตุเกส, ลิทัวเนีย, สเปน, แอฟริกาใต้, ฮังการี
8 พฤษภาคม เกาหลีใต้ (วันผู้ปกครอง)
10 พฤษภาคม กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้, บาห์เรน, ปากีสถาน, มาเลเซีย, เม็กซิโก, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อินเดีย, โอมาน
อาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม แคนาดา, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), สาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, เดนมาร์ก, ตุรกี, นิวซีแลนด์, เนเธอร์แลนด์, บราซิล, เบลเยียม, เปรู, ฟินแลนด์, มอลตา, เยอรมนี, ลัตเวีย, สโลวาเกีย, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, อิตาลี, เอสโตเนีย, ฮ่องกง
26 พฤษภาคม โปแลนด์
27 พฤษภาคม โบลิเวีย อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม สาธารณรัฐโดมินิกัน, สวีเดน อาทิตย์แรกของเดือนมิถุนายนหรือ อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม ฝรั่งเศส
12 สิงหาคม ไทย (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)
15 สิงหาคม (วันอัสสัมชัญ) คอสตาริกา, แอนท์เวิร์ป (เบลเยียม) อาทิตย์ที่สองหรือสามของเดือนตุลาคม อาร์เจนตินา (Día de la Madre)
28 พฤศจิกายน รัสเซีย
8 ธันวาคม ปานามา
22 ธันวาคม อินโดนีเซีย

วันพ่อเเห่งชาติ

5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์ เป็นผู้ถวายการประสูติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการ จำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม" อันคำว่าโดย "ธรรม" นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า "ทศพิธราชธรรม" หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า "ราชธรรม 10 ประการ" ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฎิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริ่เริ่ม หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อ โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญ ต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น "พ่อ" ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา หรือ วิศาขบูชา (บาลี: วิสาขปูชา; อังกฤษ: Vesak) เป็น "วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล" ของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก, วันหยุดราชการ ในหลายประเทศ และ วันสำคัญของโลก ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ[1] เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก"วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน โดยในประเทศไทย ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 หลัง ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่นที่ไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติของไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม[2] และในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกาย ที่นับถือว่าเหตุการณ์ทั้ง 3 นั้น เกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ๆ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท [3]
วันวิสาขบูชานั้น ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน
วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย, ประเทศไทย, ประเทศพม่า, ประเทศศรีลังกา, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก[4] (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากลนานาชาติ (International Day)" หรือ "วันสำคัญของโลก" ตามคำประกาศของที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 54 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือความจริงของโลกแก่พหูชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 ทั้งสิ้นนี้ ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน