จำนวนผู้เข้าชม

วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

การลดขยะ

สัตว์นานาชาติ

สัตว์จัดเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญต่อมนุษย์ การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์สัตว์จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ได้ผลผลิตโปรตีนเพียงพอต่อการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก นอกจากนั้นสัตว์พื้นบ้านประเภทต่าง ๆ ในหลาย ๆ ประเทศ เริ่มได้รับการสนใจในการอนุรักษ์และพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ตามวัตถุประสงค์ของประชากรในท้องถิ่น การสร้างสายพันธุ์สัตว์ใหม่ ๆ ที่ใช้สัตว์พื้นบ้านเหล่านี้เป็นแหล่งพันธุกรรม จะยังคงมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ปัจจุบันงานวิชาการทางด้านพันธุศาสตร์ปริมาณ พันธุศาสตร์โมเลกุล ฯลฯ ได้มีการพัฒนาไปเร็วมาก การนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาผสมผสานใช้กันการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสหากรรมการเลี้ยงสัตว์ของโลก ดังนั้นเพื่อให้สามารถสร้างสายพันธุ์สัตว์รองรับกับการเติบโตของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ของโลก จึงจำเป็นต้องเปิดหลักสูตร การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อผลิตบุคลากรระดับมหาบัณฑิต ในสาขาวิชาการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (หลักสูตรนานาชาติ) สำหรับรองรับกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ ทั้งในภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ 2. เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรที่จบการศึกษาทางวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสัตวบาล / สัตวศาสตร์ หรือสัตวแพทย์ หรือผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและนักศึกษาจากประเทศใกล้เคียง สามารถเข้ามาศึกษาเพิ่มเติมความรู้ในด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ได้โดยเร็ว 3. เพื่อเป็นการสนับสนุนการสร้างสายพันธุ์สัตว์ขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ และเป็นการยกระดับบุคลากรในแวดวงการเลี้ยงสัตว์ให้มีความรู้และประสบการณ์ในด้านวิชาการการปรับปรุงพันธุ์เพิ่มขึ้น 4. สร้างเครือข่ายระหว่างภาคอุตสาหกรรมกลุ่มผู้ผลิตและภาคการศึกษา สถาบันการศึกษา สถาบันการวิจัย ทั้งในและนอกประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และเทคนิคต่าง ๆ รวมถึงการสร้างงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง
5. กำหนดการเปิดสอน
ปีการศึกษา 2547
6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสัตวบาล/สัตวศาสตร์ สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง มีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.50 หรือมีประสบการณ์ในการทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 2 ปี
มีคะแนน TOEFL ไม่ต่ำกว่า 525 คะแนน หรืออยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน
คุณสมบัติอื่น ๆ ตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
7. วิธีการคัดเลือกเข้าศึกษา
ตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และระเบียบการรับบุคคลเข้าศึกษาของหลักสูตร โดยคัดเลือกด้วยวิธีการสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้พิจารณาความรู้พื้นฐานสาขาสัตวบาล/สัตวศาสตร์ ความสามารถให้เวลากับการศึกษาอย่างเต็มที่ รวมทั้งพิจารณาจากคุณสมบัติด้านอื่น ๆ จากใบสมัคร และหลักฐานประกอบการสมัคร
8. ระบบการศึกษา
ตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
9. ระยะเวลาศึกษา
ต้องเรียนตามหลักสูตรปริญญาโท ภายใน 4 ปีการศึกษา นับตั้งแต่วันที่เข้ารับการศึกษา ตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
10. การลงทะเบียน
ตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา
การวัดผลมีการสอบวัดคุณสมบัติและประมวลความรู้ในรูปแบบข้อเขียน หรือปากเปล่าหรือสองอย่าง และสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย ผลการสอบต้องได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ของคณะกรรมการสอบทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
12. อาจารย์ผู้สอน
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:51 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: สัตว์นานาชาติ
กีฬาสากล

กีฬาเป็นกิจกรรมที่มีการแข่งขันเพื่อผลแพ้ชนะ โดยผู้แข่งขันจะเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นทีมขึ้นอยู่กับประเภทของกีฬา ซึ่งกีฬาที่เล่นในประเทศไทยมีทั้งกีฬาไทยและกีฬาสากล
กีฬาสากลเป็นกีฬาที่เป็นที่ยอมรับขององค์กรกีฬาทั่วโลกให้เป็นกีฬาที่บรรจุอยู่ในเกมการแข่งขัน ซึ่งในชั้นเรียนนี้จะนำเสนอกีฬาที่เป็นที่รู้จักได้แก่ ยืดหยุ่นขั้นพื้นฐาน กรีฑา วอลเลย์บอล
ก่อนการฝึกเล่นกีฬาทุกครั้ง นักเรยนควรปฎิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
๑) ตรวจอุปกรณ์การฝึกให้อยู่ในสภาพที่ดีและปลอดภัย
๒) อบอุ่นร่างกายเพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกาย
๓) สังเกตการสาธิตการฝึกปฎิบัติของครูผู้สอน
๔) ฝึกปฎิบัติด้วยความระมัดระวัง
๕) ประเมินผลการฝึกปฎิบัติ เพื่อหาข้อบกพร่อง และเตรียมปรับปรุงแก้ไข
๖) ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง และฝึกซ้ำ ๆ
๗) เมื่อฝึกกิจกรรมเสร็จแล้ว ให้เก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย
ยืดหยุ่นขั้นพื้นฐาน
ยืดหยุ่นขั้นพื้นฐาน เป็นกิจกรรมพื้นฐานของกีฬายิมนาสติก และกีฬาเกือบทุกชนิดที่จะต้องใช้ความแข็งแรง ความอ่อนตัว การทรงตัว จังหวะและความสัมพันธ์ระหว่างประสาทกับกล้ามเนื้อ ซึ่งจะทำให้ผู้ฝึกมีร่างกายแข็งแรงเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นใจและสง่างาม มีการตัดสินใจที่ดี
กิจกรรมยืดหยุ่นขั้นพื้นฐานมีอยู่หลายกิจกรรม เช่น ทรงตัว กลิ้งตัว เหวี่ยงตัว ซึ่งในชั้นเรียนนี้จะฝึกกิจกรรม ดังนี้
๑ การทรงตัว
๑) หกกบ
หกกบคือ การเลี้ยงตัวให้ตั้งอยู่ได้บนแขน ผู้ที่ทำหกกบได้ดีต้องมีร่างกายที่แข็งแรง เพราะจะบังคับกล้ามเนื้อให้นิ่งอยู่กับที่ได้ ซึ่งปฎิบัติได้ ดังนี้
(๑) นั่งยอง ๆ ด้วยปลายเท้า เข่าแยกวางฝ่ามือลงบนพื้นข้างหน้า ระยะห่างระหว่างมือและเท้าเท่ากับความกว้างประมาณ ๑ ช่วงไหล่แขนทั้งสองอยู่ระหว่างทั้งสองข้าง
(๒) งอสอกทั้งสองข้าง โดยให้ข้อศอกอยู่ตรงรอยพับของเข่า แล้วพยายามให้ขาพับด้านในวางบนแขนเหนือข้อศอกเล็กน้อย
(๓) ยกเท้าขึ้นจากพื้น น้ำหนักตัวอยู่บนมือทั้งสอง เงยหน้าขึ้นเพื่อช่วยในการเลี้ยงตัว แล้วเลี้ยงตัวไว้ให้นานที่สุด
๒) หกสามเส้า
หกสามเส้าหรือหกหัวตั้ง คือ การตั้งศีรษะกับพื้น โดยเท้าทั้งสองข้างชี้ขึ้นข้างบน เป็นการฝึกกล้ามเนื้อให้ทำงานแบบเกร็งอยู่กับที่ ซึ่งปฎิบัติได้ ดังนี้
(๑) จับคู่กับเพื่อน เพื่อให้เพื่อนคอยช่วยเหลือ
(๒) นั่งคุกเข่า วางฝ่ามือลงบนพื้นข้างหน้า
(๓) ก้มศีรษะวางลงบนพื้น ให้กลางศีรษะติดพื้นให้ศีรษะและมือวางลงบนพื้นโดยให้เป็นรูปสามเหลี่ยมหรือสามเส้า
(๔) ค่อยๆ ยกตัวขึ้น โดยเหวี่ยงขาข้างหนึ่งขึ้น แล้วจึงยกขาข้างที่เหลือตามโดยมีเพื่อนคอยช่วยเหลือ พยายามใช้ศีรษะและมือเลี้ยงลำตัวตรงไปในอากาศ
๓)การทรงตัวด้วยมือและแขน
เป็นการใช้มือและแขนช่วยรับน้ำหนักตัวและประคองตัวไม่ให้ล้มลง
(๑) การฝึกทรงตัวบนเก้าอี้ สามารถปฎิบัติตามขั้นตอน ดังนั้น
๑. นั่งบนเก้าอี้ ลำตัวตั้งตรง แขนวางแนบลำตัว ฝ่ามือวางบนเก้าอี้
๒. ยกลำตัวและเท้าให้พ้นพื้น ใช้มือและแขนเลี้ยงลำตัวให้ลอยอยู่ได้
(๒) การฝึกทรงตัวบนพื้นสามารถปฎิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
๑. นั่งราบกับพื้น เท้าเหยียดตรงชิดกัน ฝ่ามือวางราบกับพื้น โดยเยื้องไปข้างหลังเล็กน้อย ลำตัวเอนไปข้างหลังเล็กน้อย
๒. ยกลำตัวและขาทั้งสองข้างขึ้นให้พ้นพื้น โดยใช้มือและแขนเลี้ยงลำตัวให้ลอยอยู่ได้
๒ การต่อตัว
การต่อตัวเป็นการฝึกที่จะช่วยทำให้ผู้มีความอดทน ความแข็งแรงมีความเชื่อมั่นในตนเอง รวมทั้งยังช่วยเสริมสร้างความรัก ความสามัคคีและความเห็นอกเห็นใจให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ การต่อตัว เป็นกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้นผู้ฝึกจึงควรมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ
๓ ความคล่องตัว
ความคล่องตัวคือ การเคลื่อนที่ของร่างกายที่รวดเร็ว คล่องแคล่ว
๑) การวิ่งเปลี่ยนทิศทาง
เป็นการวิ่งหลบหลีกและเปลี่ยนทิศทางได้คล่องแคล่วซึ่งปฎิบัติได้ ดังนี้
(๑) วิ่งสลับทิศทาง เป็นการวิ่งตรงไปและเลี้ยวซ้ายหรือขวาสลับกันไป
(๒) วิ่งไปและวิ่งกลับ เป็นการวิ่งตรงไปอ้อมหลักและวิ่งหลับมาที่จุดเดิม
(๓) วิ่งอ้อมหลักสลับไปมา เป็นการวิ่งซิกแซ็กอ้อมหลัก
(๔) วิ่งอ้อมหลักหรือจุด ๓ จุด เป็นการวิ่งอ้อมหลักเป็นรูปสามเหลี่ยม
๒) การข้ามสิ่งกีดขวาง
เป็นการทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว ซึ่งมีวิธีปฎิบัติ ดังนี้
(๑) กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง
(๒) ม้วนตัวข้ามสิ่งกีดขวาง
๔ ความอ่อนตัว
ความอ่อนตัวคือ ความสามารถของร่างกายในการงอตัวและการยืดตัวการฝึกอ่อนตัวจะช่วยป้องกันอันตรายต่อกระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งมีวิธีปฎิบัติดังนี้
(๑) นั่งบิดตัวซ้ายขวา
(๒) นอนใช้ปลายเท้าแตะพื้นเหนือศีรษะ
(๓) ยืนแอ่นตัวไปด้านหลัง
(๔) นั่งแตะปลายเท้า
(๕) ก้มบิดลำตัว
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:45 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: กีฬาสากล
วันห้องสมุด


เรื่องราวของหอสมุดแห่งชาติ และกิ่งก้านอีก 17 สาขา...
« เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2009, 10:36:28 AM »
หอสมุดแห่งชาติ
ความเป็นมาของหอสมุดแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติปัจจุบันของไทย สถาปนาขึ้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระมหากษัตราธิราชในพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยการรวมหอพระมณเฑียรธรรม หอพระสมุดวชิรญาณ และหอพุทธสาสนสังคหะเข้าด้วยกัน ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระบรมราชโองการประกาศจัดการ หอพระสมุดวชิรญาณ ให้เป็น หอสมุดสำหรับพระนคร เมื่อ วันที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ และได้วิวัฒนาการเป็นสำนักหอสมุดแห่งชาติปัจจุบัน หอพระสมุดวชิรญาณ เดิมตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาได้ย้ายมาตั้งอยู่ข้างนอกประตูพิมานไชยศรี คือศาลาสหทัยสมาคม แต่การบริหารและการให้บริการของหอพระสมุดเป็นสมาคม และเป็นสโมสรสำหรับสมาชิกเท่านั้น ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปได้เสด็จทอดพระเนตรกิจการหอสมุดแห่งชาติอังกฤษและหอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส เมื่อเสด็จนิวัติพระนคร มีพระราชดำริว่า หอพระสมุดวชิรญาณที่ทรงร่วมกันจัดตั้งขึ้นนั้นเป็นหอพระสมุดสำหรับราชสกุล แม้จะก่อให้เกิดประโยชน์ในทางวิชาการความรู้ยังไม่กว้างขวาง เพราะส่วนมากเป็นสมาชิกและอยู่ในวงแคบ หากขยายกิจการหอพระสมุดออกไปให้เป็น หอสมุดสำหรับพระนคร เพื่อพสกนิกรจะได้แสวงหา ประโยชน์ต่างๆจะได้จากการอ่านหนังสือ คงจะเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้นสมตามพระราชประสงค์ที่จะทรงเฉลิมพระเกียรติยศสนองพระเดชพระคุณ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งหอพระสมุดวชิรญาณ เป็นหอสมุดสำหรับพระนครขึ้นเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๔๘ และพระราชทานนามว่า หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร ตามพระสมณนามาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ขณะดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นสภานายกหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครได้พัฒนาและเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ เมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว จึงโปรดเกล้าฯให้ย้ายหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร มาไว้ที่ ตึกใหญ่ริมถนนหน้าพระธาตุซึ่งเรียกว่าตึกถาวรวัตถุ และพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด เมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๔๕๙ กิจการของหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครเจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับได้มีการรวบรวมหนังสืออันมีค่ายิ่งของประเทศไว้ได้เป็นจำนวนมากและยังได้วางรากฐานการจัดห้องสมุดตามมาตรฐานสากลหลายประการ เช่น การจัดหมวดหมู่หนังสือ ทำบัตรรายการค้นหนังสือ ทำบรรณานุกรม และการจัดพิมพ์หนังสือที่มีคุณค่าต่างๆ จำนวนมาก เป็นต้น ใน ปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯให้แยกหอพระสมุด วชิรญาณสำหรับพระนครออกเป็น ๒ หอ คือ หอพระสมุดวชิราวุธ ตั้งอยู่ที่ตึกถาวรวัตถุเช่นเดิมให้เป็นที่เก็บหนังสือฉบับพิมพ์และ หอพระสมุดวชิรญาณ ให้ใช้เป็นที่เก็บหนังสือตัวเขียนและตู้พระธรรม ปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ รัฐบาลจัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นและมีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกำหนดให้หอพระสมุดสำหรับพระนคร มีฐานะเป็นกองหนึ่งในกรมศิลปากรเรียกว่า กองหอสมุดและได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อหอพระสมุดสำหรับพระนครเป็นหอสมุดแห่งชาติในเวลาต่อมา หอสมุดแห่งชาติได้พัฒนากิจการเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับมี ผู้ใช้บริการจำนวนมากจนถึง พุทธศักราช ๒๕๐๕ รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณก่อสร้างอาคารหอสมุดแห่งชาติเป็นอาคารทรงไทย สูง ๕ ชั้นขึ้น ที่บริเวณท่าวาสุกรี ถนนสามเสน และได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๐๙ สำนักหอสมุดแห่งชาติ เป็นอาคารทรงไทย ๕ ชั้น บนเนื้อที่ประมาณ ๑๗ ไร่ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
หอสมุดแห่งชาติมีสาขาทั้งหมด 17 สาขาด้วยกัน ดังนี้1. หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ 280/8 หมู่ 2 ถนนหลวงพรตพิทยพยัต เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520โทรศัพท์ 02 739-2297-8 โทรสาร 02 739-2297-8 ต่อ 206 เวลาเปิด-ปิดทำการ/บริการ :: 8.30 - 16.30 น. วันจันทร์ - ศุกร์ หยุดวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ 2. หอสมุดแห่งชาติอินทร์บุรี สิงห์บุรี109 หมู่ 1 ตำบลอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี 16110โทรศัพท์ 036 581-520 เวลาเปิด-ปิดทำการ/บริการ :: 9.00-17.00 น. วันอังคาร-เสาร์ หยุดวันอาทิตย์-วันจันทร์ และวันนักขัตฤกษ์ 3. หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี ถนนแสงชูโต ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71000 โทรศัพท์ 034 513-924-6, 516-755 โทรสาร 034 513-924เวลาเปิด-ปิดทำการ/บริการ ::9.00-17.00 น. วันอังคาร-เสาร์ หยุดวันอาทิตย์-วันจันทร์ และวันนักขัตฤกษ์ 4. หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 72000 โทรศัพท์ 035 535-343 , 535-244 โทรสาร 035 535-343 เวลาเปิด-ปิดทำการ/บริการ :: 9.00-17.00 น. วันอังคาร-พุธ 9.00-20.30 น. วันพฤหัสบดี-เสาร์ หยุดวันอาทิตย์-วันจันทร์ และวันนักขัตฤกษ์
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:41 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: วันห้องสมุด
ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) การประมวลผล (Processing) และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output) ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system –CBIS) (Laudon & Laudon, 2001)
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม

ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลเป็นสารสนเทศ และระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องอาศัยฐานข้อมูล (CIS 105 -- Survey of Computer Information Systems, n.d.)
ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ (FAO Corporate Document Repository, 1998) ระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:37 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: ระบบสารสนเทศ
เครื่องดนตรีสากล

เครื่องดนตรีประเภทกลุ่มเครื่องลมไม้ (Woodwind)
ตัวอย่างเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้
ขลุ่ยเรคอร์เดอร์ (Recorder)
ฟลุ๊ต (Flute) และ ฟลุ๊ต-ปิดโคโล (Flute-Picolo)
คลาริเนท (Clarinet)
แชกโซโฟน (Saxophone)
บาสซูน (bassoon)
โอโบ (Oboe)
[แก้] เครื่องดนตรีประเภทกลุ่มเครื่องทองเหลือง(Brass Instrument)
ตัวอย่างเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้
ทรัมเป็ท (Trumpet)
คอนเน็ท (Cornet)
เฟรนช์ ฮอร์น (French Horn)
ทรอมโบน (Trombone)
แซ็กฮอร์น (Saxhorn)
ซูซาโฟน (Sousaphone)
ทูบา (Tuba)
ยูโฟเนียม (Euphonium)
พัลลาเดียม(Palladium)
[แก้] เครื่องดนตรีประเภทกลุ่มเครื่องกระทบ (Percussion Instrument)
ตัวอย่างเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้
กลอง (Drum), ทิมพานี(Timpani)
ฉาบ (Cymbol), ฆ้อง (Gong)
เบลลีลา (Bellela), ไซโลโฟน (Xylophone)
มาราคัส แทมโปลิน
คาสทาเนทหรือกรับสเปน (Castanet)
[แก้] เครื่องดนตรีประเภทมีลิ่มนิ้ว (Keyboard Instrument)
ตัวอย่างเครื่องดนตรีในกลุ่มนี้
ออแกน (Organ)
เมโลเดี้ยน (Melodian)
เปียโน (Piano)
แอคคอเดียน (Accordion)
ฮาปซิคอร์ด
อิเล็คโทน (Electone
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:35 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: เครื่องดนตรีสากล
เครื่องดนตรีไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

บทความในหมวดหมู่นี้เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการประเทศไทย มีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ถ้าต้องการมีส่วนรวม แก้ไข สามารถร่วมได้ที่ หน้าโครงการ
หน้านี้เป็นหน้ารวมบทความในหมวดหมู่ เครื่องดนตรีไทย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมดูได้ที่ เครื่องดนตรีไทย
หมวดหมู่ย่อย
หมวดหมู่นี้มี 3 หมวดหมู่ย่อย จากทั้งหมด 3 หมวดหมู่

[×] เครื่องดนตรีไทยภาคอีสาน (0)

[×] ปี่ (0)

[×] เครื่องดนตรีไทยภาคเหนือ (0)
บทความในหมวดหมู่ "เครื่องดนตรีไทย"
มีบทความ 45 หน้าในหมวดหมู่นี้จากทั้งหมด 45 หน้า รายการที่ปรากฎด้านล่างอาจไม่รวมการแก้ไขล่าสุด
เครื่องดนตรีไทย

กระจับปี่
กรับ
กลองชาตรี
กลองตะโพน
กลองทัด
กลองมลายู
กลองยาว
กลองสองหน้า
กลองแขก

ขลุ่ย
ขลุ่ยหลิบ
ขลุ่ยอู้
ขลุ่ยเพียงออ
ขิม

ฆ้อง
ฆ้องมอญ
ฆ้องวงเล็ก
ฆ้องวงใหญ่

จะเข้

ฉาบ
ฉิ่ง

ซอ
ซอกันตรึม
ซอด้วง
ซอสามสาย
ซออู้

ตะโพน
ตะโพนมอญ

โทน

บัณเฑาะว์

เปิงมาง
ปี่
ปี่ชวา
ปี่นอก
ปี่มอญ
ปี่ใน

ระนาด
ระนาดทุ้ม
ระนาดทุ้มเหล็ก
ระนาดเอก
ระนาดเอกเหล็ก
ระนาดแก้ว
รำมะนา

อังกะลุง
เขียนโดย palmwee@gmail.com ที่ 21:33 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: เครื่องดนตรีไทย
บทความที่เก่ากว่า หน้าแรก
สมัครสมาชิก: บทความ (Atom) ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก
▼ 2011 (13)
▼ มีนาคม (1)
วันพีซ
► มกราคม (12)
สัตว์นานาชาติ
กีฬาสากล
วันห้องสมุด
ระบบสารสนเทศ
เครื่องดนตรีสากล
เครื่องดนตรีไทย
ลักษณะภูมิประเทศทวีปเอเชีย
เมืองหลวงแต่ละประเทศ
วันวิทยาศาสตร์
วันคริสมาสต์
ผลไม้นานาชนิด
กีฬาไทย
► 2010 (27)
► กรกฎาคม (5)
ผังงานคอมพิวเตอร์
การสื่อสารคอมพิวเตอร์
Microsoft Word
ระบบสารสนเทศ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
► มิถุนายน (20)
การลดขยะ
test
การออกกำลังกาย
วันออกพรรษา
วันเข้าพรรษา
ประเพณีลอยกระทง
วันขึ้นปีใหม่
วันสงกรานต์
วันอาสาฬหบูชา
วันมาฆบูชา
วันพืชมงคล
วันพ่อแห่งชาติ
วันแม่แห่งชาติ
การลดโลกร้อน
สุนทรภู่ หรือ พระสุนทรโวหาร (ภู่) มีนามเดิมว่า ภู...
วันวิสาขบูชา
การไหว้คูร
การเกิดรุ้งเกินนำ
สึนามิิ
การเกิดภูเขาไฟ
► พฤษภาคม (2)
การเกิดแผ่นดินไหว
การเกิดฤดูการ
เกี่ยวกับฉัน
palmwee@gmail.com
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น